มวลน้ำจ่ออยุธยา หลังเขื่อนเจ้าพระยาระบายออกในอัตรา 2.5 ลบ.ม./วินาที

มวลน้ำจ่ออยุธยา หลังเขื่อนเจ้าพระยาระบายออกในอัตรา 2.5 ลบ.ม./วินาที

วันที่ 27 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวเดินทางลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์น้ำในพื้นที่ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังเขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนสูงขึ้น โดยพบว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย เพิ่มสูงขึ้น

ที่หมู่ 5 ตำบลวัดยม อำเภอบางบาล พบว่า ภายในชุมชนริมคลองทั้ง 2 ฝั่งคลอง ถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ชาวบ้านต้องนำยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ มาจอดไว้บนสะพาน เพื่อความปลอดภัย ไม่ให้ได้รับความเสียหาย ข้าวของเครื่องใช้ถูกนำขึ้นไว้บนบ้าน สัตว์เลี้ยงต้องอยู่แต่บนบ้านชั้น 2 ทั้งนี้ยังพบว่ามีวัดหลายวัดในพื้นที่ถูกน้ำท่วมเข้าถึงบริเวณวัด G2GBET

นอกจากนี้ที่สวนกกล้วยหอมหลายพันต้น ชาวบ้านต้องรีบตัดผลผลิตกล้วยหอมที่พอจะขายได้ ส่วนกล้วยลูกที่ยังโต ไม่สามารถที่จะตัดขาย ก็ต้องปล่อยให้ถูกน้ำท่วม โดยนายเอนก ทองคำ อายุ 64 ปี เกษตรกรสวนกล้วยหอม ชาวบางบาล เผยว่า ปีนี้น้ำมาไว กล้วยที่ปลูกไว้กว่า 700 ต้น ในเนื้อที่ 4 ไร่ ถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด ตอนนี้ก็ได้แต่ตัดเท่าที่ได้เพื่อหนีน้ำ

“ปีนี้น้ำมาไว เก็บของยังเก็บไม่ค่อยจะทัน ขึ้นมาเยอะทุกวัน วันนี้ก็ขึ้นมาอีก 30 เซนติเมตร จนกล้วยที่ตนเองปลูกไว้ถูกน้ำท่วมเสียหาย ต้องนำเรือออกมาตัดเท่าที่ตัดได้ ไม่เช่นนั้นจะเสียหายทั้งหมด”

ด้านนายสมทรง มั่นธรรม อายุ 64 ปี เกษตรกรสวนกล้วยหอมอีกราย กล่าวว่า ปลูกกล้วยหอมไว้ 1,000 กว่าต้น ในเนื้อที่ 5 ไร่ ก็ต้องลุยน้ำเข้าไปตัดกล้วยหอมในสวนเช่นกัน เพิ่งจะตัดไปได้ 2 เวร ก็ต้องมาเสียหายจากน้ำท่วมทั้งหมด ต้องให้แม่ค้าจากกรุงเทพฯ มาช่วยตัดช่วยซื้อเท่าที่ได้ ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ส่วนกล้วยที่เหลือที่ขนาดยังไม่สามารถตัดได้ก็ต้องปล่อยจมน้ำไป เสียหายนับแสน

ที่ จ.อ่างทอง วันเดียวกัน นายเตือนใจ ทรงไตร นายกเทศมนตรีเมืองอ่างทอง ได้สั่งระดมกรอกทรายเพื่อนำไปวางเสริมป้องกันจุดเสี่ยงในเขตเศรษฐกิจศูนย์ราชการ เสริมความแข็งแรงริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง หลังเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับมวลน้ำจากทางภาคเหนือ ส่งผลให้น้ำเจ้าพระไหลผ่านจ.อ่างทอง เพิ่มขึ้น ทางเทศบาลจึงได้เฝ้าระวังและเร่งดำเนิ่นการป้องกัน ซึ่งทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นร่วมเสมอตลิ่งแล้ว เพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นไหลเข้าท่วมเขตเศรษฐกิจ โดยทำการเสริมกระสอบทรายตามจุดเสี่ยงตามแนวกำแพงกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันน้ำที่ล้นตลิ่งโดยการระดมกรอกกระสอบทรายเพื่อเตรียมไว้ใช้ในยามฉุกเฉินพร้อมเสริมจุดเสี่ยง ล่าสุดแม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง มีระดับอยู่ที่ 8.38 เมตร จากระดับตลิ่ง 10 เมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,248 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที XOSLOT

จ.ปทุมธานี เฟซบุ๊กเพจ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี ประกาศว่า ผู้อำนวยการ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี เตือนประชาชนให้ ระมัดระวัง และให้ทุกอำเภอเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนัก หรืออาจเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปทุมธานี ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกรที่ประกอบอาชีพประมง เพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์บริเวณริมแม่น้ําเจ้าพระยา บริษัทห้างร้านที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น ร่วมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ด้านกรมชลประทานแจ้งว่า ที่ผ่านมามีฝนตกสะสมต่อเนื่องบริเวณประเทศไทยตอนบน และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 26-30 กันยายน 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ทําให้ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคกลาง และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราเพิ่มมากขึ้น

โดยคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 2,400-2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทานได้ใช้การบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งตัดยอดน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำทั้งสองฝั่ง แต่ยังคงจําเป็นต้องปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ระหว่าง 2,000-2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะค่อยๆ ทยอยเพิ่มการระบายน้ำเป็นลําดับ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น จากปัจจุบันประมาณ 0.30-1.00 เมตร ในช่วงวันที่ 26-29 กันยายน 2564

ทั้งนี้พร้อมประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมความพร้อม กําลังพล วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้พร้อมปฏิบัติงาน อํานวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง และหากต้องการความช่วยเหลือในเบื้องต้น สามารถติดต่อได้ที่กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โทร. 0-2581-3120 สล็อตเว็บตรง

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*